มาทำความรู้จัก โฮสติ้ง และวิธีเลือกใช้บริการ

เมื่อพูดถึงคำว่า โฮสติ้ง เจ้าของเว็บไซต์ส่วนใหญ่น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งคำว่าโฮสติ้งหมายถึง พื้นที่การใช้งานในอินเทอร์เน็ตสำหรับเว็บไซต์ทั่วไป โฮสติ้งมีลักษณะที่เปรียบเทียบได้เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นถ้าเจ้าของเว็บไซต์มีพื้นที่การใช้งานโฮสติ้งที่มากก็จะสามารถเก็บ ไฟล์ รูปภาพ เอกสาร และอื่นๆ ได้มากตามไปด้วยเช่นกัน บางครั้งอาจมีชื่อเรียกได้หลายแบบ เช่น โฮสติง โฮสติ้ง เว็บโฮสติ้ง โฮสต์
เป็นต้น แต่ในทุกชื่อที่กล่าวมาทั้งหมดก็มีความหมายเหมือนกัน

ดังนั้นเพื่อลดปัญหาเว็บล่มเว็บสะดุดกลางคัน และให้เว็บมีความเสถียรมากขึ้น เรามาทำความรู้จักกับโฮสติ้ง ว่าควรเลือกแบบไหนกันดีกว่า…

วิธีการเลือกใช้บริการ โฮสติ้ง ตามเว็บต่างๆ

การจัดทำเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ให้กับบุคคลทั่วไป หรือผู้ประกอบธุรกิจนั้น จำเป็นต้องมีผู้ให้เช่าพื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลในการนำเสนอเว็บไซต์ หรือที่เรียกว่า โฮสติ้ง และต้องมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตรองรับการดำเนินการ ทั้งนี้การเลือกใช้บริการโฮสติ้งให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง สามารถพิจารณาตามขั้นตอนได้ดังนี้ 

1.ขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ต้องเพียงพอกับข้อมูลของเว็บไซต์ที่จัดทำ ข้อมูลรูปภาพหรือไฟล์เอกสารต่างๆ ที่จะเปิดสามารถดาวน์โหลดได้หลายรายการ และแต่ละไฟล์มีขนาดใหญ่ อาจจะต้องเพิ่มพื้นที่และบางแห่งจะนำพื้นที่เก็บอีเมลนำปิดรวมกับพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลของเว็บไซต์อาจจะทำให้พื้นที่ของเว็บไซต์ไม่เพียงพอต่อการใช้งานได้ เพราะจะต้องใช้ร่วมกับอีเมล์ ซึ่งต้องตรวจสอบกับทางผู้ให้บริการ ก่อนตัดสินใจว่าจะใช้อีเมล์แยกออกจากพื้นที่เก็บไฟล์ข้อมูลเว็บหรือไม่

2.มีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งในเว็บไซต์หรือไม่ ถ้าหากเว็บไซต์มีการใช้เว็บโปรแกรมมิ่งในการทำ ได้แก่ เว็บบอร์ด โปรแกรมส่งเมลหาสมาชิก หรือโปรแกรมการเก็บฐานข้อมูล ควรจะตรวจสอบกับทางผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งว่าเซิร์ฟเวอร์ใช้ระบบปฏิบัติการอะไร ถ้าหากเป็นวินโดวส์ก็สามารถใช้กับภาษาในการเขียนโปรแกรมได้ 

3.ประสิทธิภาพของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ควรจะตรวจสอบคุณสมบัติเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการว่ามีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง ได้แก่ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำ หรือพื้นที่ใช้เก็บข้อมูลว่ามีขนาดเท่าไร เพราะจะมีส่วนสำคัญในการทำงานและการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์อย่างมาก ซึ่งหากเลือกคุณสมบัติเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ต่ำอาจจะมีราคาถูกกว่าเครื่องที่มีคุณสมบัติสูง แต่ประสิทธิภาพและความเร็วในการให้บริการก็จะลดลงด้วย

4.จำนวนลูกค้าต่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ ให้สอบถามไปยังโฮสติ้งที่ให้บริการว่ามีบริการกี่คนต่อเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ 1 เครื่อง ซึ่งโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีการกำหนดจำนวนลูกค้ากับการรองรับในการให้บริการต่อ 1 เซิร์ฟเวอร์ ทั้งนี้เพื่อจะสามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.ความเร็วในการรับส่งข้อมูลโฮสติ้งที่ดีต้องสามารถรับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว หากโอสติ้งตั้งอยู่สถานที่ๆ มีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่ จะช่วยทำให้การรับ-ส่งข้อมูลจากเว็บไซต์ของท่านไปยังลูกค้าได้เร็วขึ้น

6.ระบบสำรองข้อมูลโอสติ้ง ควรมีระบบสำรองข้อมูลรายวัน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจนข้อมูลของเว็บไซต์สูญหาย โดยสามารถเรียกข้อมูลที่สำรองเอาไว้กลับมาให้บริการ

7.ปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่งได้ ผู้ให้บริการโอสติ้งบางแห่งจะมีการจำกัดปริมาณข้อมูลที่มีการรับส่งเข้าออกจากเว็บไซต์ โดยบางแห่งจะรับส่งได้ไม่จำกัดหรือบางแห่งอาจจะมีการกำหนดเอาไว้ หากปริมาณการรับส่งข้อมูลของเว็บไซต์เกินกว่าที่กำหนด อาจจะมีการชาร์ตเงินเพิ่มต่อจำนวนข้อมูลที่มีการรับส่งเพิ่มมากขึ้น 

8.การบริการหลังการขาย การบริการหลังการขายถือเป็นเรื่องสำคัญ ควรจะตรวจสอบก่อนว่าเวลาในการให้บริการของโฮสติ้งในการให้บริการตอบคำถาม หรือติดตามปัญหาต่างๆ รวดเร็วแค่ไหน

9.ด้านราคา หากต้องการพื้นที่มากในแง่ของความเสถียร รวดเร็วและแรง ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นตามคุณภาพโฮสติ้ง ซึ่งโฮสติ้งชั้นนำส่วนใหญ่จะอนุญาตให้อัปเกรดโฮสติ้งได้ (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)

ประเภทของโฮสติ้งมีอะไรบ้าง

บริการให้เช่าเครื่อง Server (Dedicated Server) คือ การเช่าเครื่อง Server ทั้งเครื่องเพื่อใช้เพียงผู้เดียว โดยส่วนมากลักษณะการใช้งานจะเหมาะสมสำหรับบริษัทขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือบริษัทเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่ต้องการความเสถียรไม่ล่มกลางคัน มีความเร็วและแรง จึงทำให้มีความปลอดภัยในการเข้าถึงเว็บไซต์ เพราะเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องจะมีเพียงเว็บไซต์ของเราเท่านั้น

Shared web Hosting คือ การใช้โฮสติ้งแบบแชร์พื้นที่ โดยมีรูปแบบฝากข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน ซึ่งเป็นโฮสติ้งที่เหมาะสำหรับความเป็นส่วนตัวที่มีเพียงเว็บเดียว หรือเป็นเว็บไซต์ธรรมดา เพราะเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีการแชร์พื้นที่กันหลายผู้ใช้งาน และยังเป็นที่นิยมใช้กันมากเพราะมีราคาไม่สูง

VP Server Hosting คือ รูปแบบที่เรียกกันว่า Server คล้ายๆ กับการเปิด Server ส่วนตัว ไม่มีการแชร์ใช้ร่วมกับเว็บไซต์อื่นๆ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีความต้องการที่จะใช้งานโปรแกรมเสริม เพราะบริการนี้สามารถติดตั้งโปรแกรมหรือ Application ได้ตามใจชอบ และยังเหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีการเข้าชมสูงอีกด้วย

Reseller Hosting คือ รูปแบบการบริการจัดทำเว็บไซต์ เพื่อขายพื้นที่ให้กับลูกค้าที่มาจ้างทำเว็บไซต์หรืออาจขายต่อในนามของตัวเองก็ได้ และยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีหลายเว็บไซต์ที่ต้องดูแล เนื่องจากสามารถบริหารจัดการได้ผ่านระบบควบคุมเดียวได้ทุกเว็บ (ข้อมูลจาก Promotions)

กล่าวโดยสรุป ในการเลือกใช้โฮสติ้งต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับเว็บไซต์ รวมถึงการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ดังนั้นผู้ที่เริ่มต้นทำเว็บไซต์หรือยังไม่มีการขยับขยายมากนักควรเริ่มจากโฮสติ้งที่มีขนาดเล็กก่อน แล้วค่อยขยับขยายเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากยังไม่แน่ใจในข้อมูลโฮสติ้ง สามารถปรึกษาบริษัททำเว็บไซต์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำช่วยในการตัดสินใจได้เช่นกัน