หลักการตั้ง ชื่อโดเมน สำคัญกับเว็บไซต์ของคุณ ?

ชื่อโดเมน เป็นชื่อเว็บไซต์หรือชื่อเฉพาะที่ใช้เรียกแทนเว็บไซต์ ซึ่งเปรียบเสมือนชื่อบุคคลทั่วไปที่ใช้สรรพนามเรียกแทนตัวเอง แต่ที่สำคัญคือ ชื่อและนามสกุลจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่นเพื่อเป็นการแสดงตัวบุคคลที่ถูกต้อง ชื่อโดเมนก็เช่นเดียวกันจะต้องไม่ซ้ำเพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ หรืออีกนัยหนึ่งชื่อเว็บไซต์เป็นสิ่งแรกที่แสดงหรือประกาศการมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก ซึ่งสามารถมีชื่อเดียวเท่านั้นทั่วโลก 

ดังนั้น ชื่อโดเมนที่ดีมีความหมายหรือเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ อาจหมายถึงใบเบิกทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย ทั้งนี้ ชื่อโดเมน จะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนของชื่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรือที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของ Website นั้นๆ และส่วนที่เป็นลักษณะการประกอบของ Website เช่น .com .net เป็นต้น แล้วสิ่งที่ควรรู้จากชื่อโดเมนมีอะไรอีกบ้าง ลองมาติดตามอ่านกันได้ดังนี้ 

ชนิดของ ชื่อโดเมน ประกอบด้วย

ชื่อเว็บไซต์ หรือเรียกอีกอย่างว่า ชื่อโดเมน ซึ่งชื่อโดเมนจะมีการใช้นามสกุลที่ไม่เหมือนกัน โดยนามสกุลแต่ละชนิดนั้นใช้เพื่อจัดกลุ่มของชื่อโดเมนนั่นเอง สามารถแบ่งชนิดของชื่อโดเมนได้ดังนี้ 

gTLDs (Generic Top Level Domain) คือ ชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย .com .net และ org

com – Commercial Organization ห้างร้านบริษัท

net – Networking Organization ผู้ที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับระบบเครือข่าย

org – Non Commercial Organization องค์กรมูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไร

ccTLDs (Contry Code Top Level Domains) คือชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วยตัวอักษรย่อของแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทยใช้ TH ประเทศญี่ปุ่น JP ประเทศจีน CN เป็นต้น 

ac.th – Academic Organization สถาบันการศึกษา

or.th – Non-Profit Organization องค์กรมูลนิธิที่ไม่หวังผลกำไร

co.th – Company ห้างร้านบริษัท

go.th – Government หน่วยงานราชการ

net.th – Internet Service Provide ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต 

mi.th – Military Organization หน่วยงานเกี่ยวกับการทหาร

in.th – Individual บุคคลทั่วไป   

ทั้งนี้ชื่อโดเมนจะบอกตำแหน่งที่อยู่ในอินเตอร์เน็ต หมายเลขจะใช้อ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อสื่อสารกันในระบบอินเตอร์เน็ต และคำว่า www ที่นำหน้าชื่อโดเมน จะบ่งบอกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ให้บริการเว็บเพจได้ ส่วนคำว่า .com ที่ต่อท้ายชื่อโดเมน บ่งบอกว่าเป็นนามสกุลของชื่อโดเมน    

นอกจากชื่อโดเมนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการชี้ไปยัง Website ดังนั้นจึงไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ ยกตัวอย่างเช่น Thai Company.net กับ Thai Company.com ถือว่าเป็นคนละชื่อกัน เนื่องจากจดอยู่ภายใต้ลักษณะการประกอบการที่ต่างกัน แม้ว่าในทางปฏิบัติอาจประกอบการในลักษณะเดียวกัน และยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ควบคุม  (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)

หลักการทำงานของ ชื่อโดเมน  

ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะใช้กลุ่มตัวเลข 4 กลุ่มที่คั่นด้วยจุด เช่น 203.33, 192.225 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ IP Address ในการระบุตำแหน่งของ Website ต่างๆ เพื่อให้รู้ว่าอยู่บนเครื่องใดและอยู่ในเครือข่ายใด แต่เนื่องจาก IP Address อยู่ในรูปของตัวเลขซึ่งยากแก่การจดจำ

ดังนั้นจึงเป็นการสะดวกกว่าที่จะใช้ชื่อหรือกลุ่มของตัวอักษร ซึ่งก็คือชื่อโดเมน ในการอ้างอิงแทน โดยอาศัย DNS Server มาช่วยจับคู่ IP Address และชื่อโดเมน ดังนั้นเมื่อมีผู้ต้องการที่จะเรียกดู Website ไม่ว่าจะรู้ IP Address และชื่อโดเมน เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็จะสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ผิดพลาด

รูปแบบชื่อโดเมนตามหลักอินเตอร์เน็ต   

รูปแบบการตั้งชื่อของโดเมน ตามหลักการของ Internet มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1.รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล เป็นรูปแบบที่สามารถแยกย่อยได้อีก 2 แบบ ได้แก่ รูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กัน โดยเฉพาะในอเมริกา เช่น .com, .net, .gov และรูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ เป็นรูปแบบที่ใช้บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมน หรือที่ตั้งของโดเมนมักจะใช้กับประเทศอื่นๆ ยกเว้นอเมริกา เช่น .th หมายถึงโดเมนที่ดูแลโดยประเทศไทย หรือ .jp หมายถึงโดเมนของประเทศญี่ปุ่น

2.โดเมนขั้นที่สอง – Second Level Domain 

3.โดเมนขั้นที่สาม – Third Level Domain

หลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อโดเมน   

1.การตั้ง ชื่อโดเมน จะต้องใช้ตัวอักษรภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น ห้ามนำอักษรภาษาต่างๆ มารวมกัน ซึ่งสามารถตั้งชื่อเป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆ ได้ ที่เราเรียกว่า IDN (Internationalized Domain Name) 

2.การตั้งชื่อโดเมนสามารถใช้ตัวเลข (0-9) ได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอะไรก็แล้วแต่ ซึ่งสามารถใส่ได้ทุกตำแหน่งของชื่อ 

3.การตั้งชื่อโดเมนสามารถใช้เครื่องหมายขีด (-) แต่ต้องอยู่ระหว่างคำเท่านั้น ไม่สามารถอยู่เป็นตัวหน้า และ/หรือ ตัวท้ายได้ และไม่สามารถเว้นวรรคในชื่อโดเมนได้

4.การตั้งชื่อโดเมนไม่สามารถใช้เครื่องหมายพิเศษได้

5.การตั้งชื่อโดเมน ไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ ดังนั้นก่อนตั้งชื่อโดเมนควรมีการตรวจสอบก่อนว่าซ้ำกับใครหรือไม่

6.การตั้งชื่อโดเมนไม่สามารถตั้งชื่อเกิน 67 ตัวอักษร รวมทั้งชนิดของตัวอักขระ สัญลักษณ์อื่นๆ และถ้าเป็นชื่อโดเมน .th ห้ามมีตัวอักษรเกิน 24 ตัว และต้องมีตัวอักษรอย่างน้อย 2 ตัว (ข้อมูลจาก MakeWebEasy)

กล่าวโดยสรุป ชื่อโดเมน ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการสร้างเว็บไซต์ หากสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาตรงกับกลุ่มเป้าหมายก็จะทำให้ชื่อโดเมนหรือเว็บไซต์ เป็นที่รู้จักและมีกระแสตอบรับที่ดีในทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะแต่กับกลุ่มเป้าหมายเท่านั้น 

ดังนั้นการที่จะสร้างชื่อโดเมนหรือเว็บไซต์ขึ้นมา จะต้องทำการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด และควรปรึกษาบริษัททำเว็บไซต์คุณภาพ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องตรงจุดการทำธุรกิจของคุณ